วันพุธที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2553

ชื่อ:ไอแซค นิวตัน ( Isac Newton )
เกิดเมื่อ:25 ธันวาคม ค.ศ. 1642
สถานที่เกิด:เมืองลินคอล์นเชียร์ ประเทศอังกฤษ
การศึกษา:สำเร็จการศึกษาที่วิทยาลัยเคมบริดจ์
ผลงาน :ค้นพบแรงดึงดูดของโลก ประดิษฐ์กล้องโทรทรรศน์แบบสะท้อนแสง
ถึงแก่กรรม:20 มีนาคม ค.ศ. 1727 ที่เคนซิงตัน

ประวัติโดยย่อ
ไอแซค นิวตัน หลังจากจบการศึกษาแล้ว เขาได้ทำงานเป็นผู้ช่วยศาสตราจารย์ ในปี 1667 เขาพบปรากฏการณ์รุ้งกินน้ำซึ่งนิวตันรู้และพิสูจน์ได้ว่าแสงสว่างของดวงอาทิตย์ประกอบไปด้วยสี 7 สีทำให้เกิดสีรุ้งนั่นเอง เขาจึงใช้หลักการนี้คิดประดิษฐ์กล้องโทรทรรศน์ขึ้นแบบมีตัวสะท้อนแสง นิวตันมักจะใช้เวลาคิดเกี่ยวกับงานของเขาเงียบๆ โดยครั้งหนึ่งเขาสังเกตเห็นการหล่นของผลแอ็ปเปิ้ล ทำให้เขาเกิดความคิดเกี่ยวกับแรงโน้มถ่วงของโลกที่ดึงดูดทุกสิ่งทุกอย่างบนโลกได้ ด้วยเหตุนี้ในปีค.ศ. 1684 นิวตันประสบความสำเร็จมากในทฤษฎีแห่งการเคลื่อนที่ของการดึงดูดของโลก และเป็นผู้ค้นพบกฏสามข้อ ซึ่งเป็นมาตราฐานของกฏของการเคลื่อนไหว เป็นหลักของวิชาไดนามิกส์ ผลงานของเขาสร้างชื่อเสียงให้กับเขามากจนได้รับบรรดาศักดิ์เป็น " เซอร์ "


กฎข้อที่ 2 ของนิวตัน
กฎข้อที่สองของนิตันเป็นการอธิบายความสัมพันธ์ระหว่าง แรง มวล และความเร่ง “แรงลัพธ์ที่กระทำต่อวัตถุมีค่าเท่ากับผลคูนระหว่างความเร่งและมวลของวัตถุนั้น” ความสัมพันธ์ระหว่าง แรง มวล และความเร่ง สามารถเขียนเป็นสมการได้ ดังนี้

F = ma

เราเรียกสมการนี้ ว่ากฎข้อที่สองของนิวตัน

เมื่อ F
m
a
เมื่อหน่วยของความเร่งคือ เมตรต่อวินาทีกำลังสอง m/s2
และมวลมีหน่วยเป็นกิโลกรัม Kg
ดังนั้น แรงจึงมีหน่วยเป็นกิโลกรัม เมตรต่อวินามีกำลังสอง Kg.m/s2
หรือเราเรียกหน่วยนี้ว่า N (นิวตัน)

กฎข้อที่ 2 ของนิวตัน
"ความเร่งของวัตถุจะแปรผันตรงและมีทิศเดียวกับแรงลัพธ์ที่กระทำต่อวัตถุ และแปรผกผันกับมวลของวัตถุ เมื่อมีแรงลัพธ์ขนาดไม่เป็นศูนย์มากระทำกับวัตถุ"
F = ma
เมื่อ F = แรงลัพธ์ (N)
m = มวล (kg)
a = ความเร่ง (m/s2)
ตัวอย่างเช่น แรงขับเคลื่อนของเครื่องยนต์จรวดจะทำให้จรวดมีความเร็วเพิ่มขึ้น ความเร่งจะเพิ่มเป็นสองเท่า เมื่อเร่งเครื่องยนต์ขึ้นสองเท่า


จัดทำโดย นางสาว มัลลิกา โพธิ์ศรี ชั้นม.5/1 เลขที่ 34

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น